ประวัติ มิน อ่อง หล่าย คือใคร นายพลเมียนมา ผู้ยึดอำนาจอองซานซูจี

ประวัติ มิน อ่อง หล่าย คือใคร นายพลเมียนมา ผู้ยึดอำนาจอองซานซูจี

1 ก.พ. 64 ผู้บัญชาการทหารสูงสุดอย่าง “พล.อ. มิน อ่อง หล่าย” นำกองทัพเมียนมาทำรัฐประหาร และยึดอำนาจการปกครอง และนี่คือประวัติของเขา พล.อ. มิน อ่อง หล่าย เกิดเมื่อวันที่ 7 ก.ค. 2499 ที่เมืองทวาย ประเทศเมียนมา ในครอบครัวที่มีบิดาเป็นข้าราชการวิศวกรโยธา

ปี 2515 สำเร็จการศึกษา คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยย่างกุ้ง

ปี 2517 สำเร็จการศึกษาจากโรงเรียนเตรียมทหาร และเข้ารับราชการในตำแหน่งทางการทหาร

ปี 2545 ได้รับการแต่งตั้งเป็นผู้บัญชาการทหารรัฐมอญ ก่อนที่ในเวลาต่อมา จะเลื่อนเป็นผู้บัญชาการกรมทหารภาคสามเหลี่ยมในรัฐฉาน

ปี 2552 เป็นผู้นำต่อต้านกลุ่มกองกำลังสัมพันธมิตรชาติประชาธิปไตย (กลุ่มหยุดยิงเมืองลา) ในพื้นที่ของชนกลุ่มน้อยโกก้าง ส่งผลให้ชาวโกก้างราว 3.7 หมื่นคนลี้ภัยเข้าไปในจีน

ปี 2553 ได้รับการแต่งตั้งเป็นผู้บัญชาการกองยุทธการพิเศษที่ 2 หน่วยบัญชาการทหารภาครัฐฉาน และรัฐกะเหรี่ยง และเสนาธิการร่วมกองทัพพม่า

ปี 2554 ได้รับตำแหน่งผู้บัญชาการทหารสูงสุด ต่อจากพล.อ. ต้านชเว

ปี 2555 ได้เดินทางมาประเทศไทย และพบกับ พล.อ.เปรม ติณสูลานนท์ ประธานองคมนตรี ซึ่งทั้งคู่ต่างพูดคุยกันอย่างถูกคอ จนพล.อ. มิน อ่อง หล่าย เคารพป๋าเปรมเหมือนพ่อคนหนึ่ง

ทั้งนี้ UNHRC เคยรายงานว่า พล.อ.มิน อ่อง หล่าย คือผู้อยู่เบื้องหลังการละเมิดสิทธิมนุษยชนชาวโรฮิงญาในรัฐยะไข่ ทางตอนเหนือของเมียนมา และถูกสหรัฐอเมริกาสั่งแบนห้ามเข้าประเทศ

มากไปกว่านั้น เขายังคือผู้ถือหุ้นใหญ่ของ Myanmar Economic Holdings Limited (MEHL) ซึ่งเจ้าของคือกองทัพเมียนมา

ในหลวง โปรดเกล้าฯให้ ผู้แทนพระองค์เชิญของขวัญปีใหม่พระราชทาน เพื่อมอบแก่นายกฯและภริยา ณ ตึกไทยคู่ฟ้า 1 ก.พ. 64 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯให้ ผู้แทนพระองค์เชิญของขวัญปีใหม่พระราชทาน เพื่อมอบแก่นายกรัฐมนตรีและภริยา ณห้องสีงาช้าง ตึกไทยคู่ฟ้า ทำเนียบรัฐบาล วันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2564

#savemyanmar ติดเทรนด์ทวิตไทย หลังทหารยึดอำนาจ ปิยบุตรชี้ขัดขวาง ปชต ในภูมิภาค

พม่ารัฐประหาร – นับเป็นข่าวใหญ่ของวันนี้ เมื่อ กองทัพเมียนมารัฐประหารแบบยึดอำนาจโดยจับตัวนางอองซานซูจี และคณะผู้นำอื่น ๆ ของเมียนมาที่ได้รับการเลือกตั้งเมื่อเดือนพฤศจิกายน ซึ่งพรรคของนางอองซานซูจีเป็นฝ่ายชนะ

การกระทำของกองทัพเมียนมาอ้างว่าการเลือกตั้งมีการทุจริต จึงต้องปฏิการดังกล่าว ล่าสุดในกระแสเทรนด์ทวิตเตอร์ไทย #รัฐประหาร และ #Savemyanmar ก็ได้ติดเทรนด์ทวิตเตอร์ เพื่อพูดคุยเกี่ยวกับข่าวสารการเมืองของประเทศเพื่อนบ้าน ที่ตกอยู่ใต้อำนาจรัฐบาลทหารมาอย่างยาวนาน เพิ่งจะโผล่เงา ได้รัฐบาลพลเรือนมาปกครองในไม่กี่ปีให้ลง

ด้าน ปิยบุตร แสงกนกกุล คณะก้าวหน้า ได้ทวีตข้อความระบุว่า

“การรัฐประหารในพม่าเป็นสัญญานอันตรายของการขัดขวางกระแสลมแห่งประชาธิปไตยในภูมิภาค

ตราบใดที่หลักการรัฐบาลพลเรือนจากการเลือกตั้งอยู่เหนือกองทัพ ยังไม่อาจเกิดขึ้นได้ รัฐประหารโดยกองทัพย่อมเกิดขึ้นได้เสมอ

เสียดายความคืบหน้าสู่ประชาธิปไตยที่ประชาชนพม่าร่วมกันสร้างขึ้นมา

ผมหวังเป็นอย่างยิ่งว่าประชาชนชาวพม่าผู้เชื่อมั่นในหลักประชาธิปไตย นักการเมือง นักประชาธิปไตย นักเคลื่อนไหว ภาคประชาสังคม และสื่อมวลชน จะยืดหยัดต่อสู้กับเผด็จการ และนำพาประเทศกลับคืนสู่ประชาธิปไตยให้ได้ในที่สุด”

อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 22 แห่งพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยคณะกรรมการการเลือกตั้ง พ.ศ.2561 และมาตรา 142 แห่งพระราชบัญญัติการเลือกตั้งสมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่น พ.ศ.2562 คณะกรรมการการเลือกตั้งจึงออกประกาศกำหนดให้มีการเลือกตั้งสมาชิกสภาเทศบาลและนายกเทศมนตรี

โดยให้จัดการเลือกตั้งสมาชิกสภาเทศบาลและนายกเทศมนตรี ภายในหกสิบวัน นับแต่วันที่คณะกรรมการการเลือกตั้งประกาศกำหนดให้มีการเลือกตั้ง อันเป็นวันที่สมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่นพ้นจากตำแหน่ง เพราะเหตุอื่นใดนอกจากครบวาระตามมาตรา 11 แห่งพระราชบัญญัติการเลือกตั้งสมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่น พ.ศ.2562 ประกอบมาตรา 29 แห่งพระราชบัญญัติเทศบาล (ฉบับที่ 14) พ.ศ.2562

แนะนำ : รีวิวเครื่องใช้ไฟฟ้า | รีวิวอาหารญี่ปุ่น| รีวิวที่เที่ยว | ดาราเอวี